วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โขน

   โขนเป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนาน สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบองและการแสดงหนังใหญ่ การแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้น เป็นการแสดงทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฏบนศีรษะและสวมหน้ากาก โดยแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจาและบทร้อง ปัจจุบันนิยมเล่นเรื่องรามเกียรติเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เพลงไทยประกอบการแสดงนาฏศิลป์

1.เพลงไทยประกอบการแสดงละคร รำ และระบำมาตรฐาน
-เพลงหน้าพาทย์
-เพลงขับร้องรับส่ง
2.เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง
-เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
-เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
-เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
-เพลงบรรเลงและขับรองประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน

นาฏศิลป์ไทย

 นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรำ และดนตรี อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะ หรือนาฏยะ กำหนดว่าต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการคือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้องรวมเข้าด้วยกันซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นกิจกรรมของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่างๆเช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข ความทุกข์ แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้น เป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำหรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าโดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้อง ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ